http://picasion.com/ สนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือรับไปจำหน่ายได้ในราคาพิเศษ

น้ำหอมคืออะไร

น้ำหอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Vintage Atomizer Perfume Bottle.JPG
น้ำหอม คือ สารละลายหอมระเหยทำจากน้ำมันกับแอลกอฮอล์ มีกลิ่นที่สกัดมาจากดอกไม้ในธรรมชาติหรือกลิ่นที่สังเคราะห์ขึ้นมาผสมอยู่ ใช้ทาหรือพ่นตามเสื้อผ้าหรือร่างกาย น้ำหอมจะระเหยออกมาพร้อมกับส่งกลิ่นหอมชวนดมออกมาด้วย มีหลายกลิ่น บางกลิ่นเกิดจากการนำกลิ่นดอกไม้หลายชนิดมาผสมกัน มีการผลิตบรรจุขวดขายหลายยี่ห้อ อาทิเช่น Artistry, CK, DKNY, LACOSTE, Ralph Lauren, IDOFRAGRANCE ฯลฯ ส่วนน้ำหอมปรับอากาศในรถยนต์ อาทิเช่น BALDINY

ประเภทของน้ำหอม[แก้]

แบ่งน้ำหอมออกเป็น 3 ชนิดหลัก ๆ ตามระดับความเข้มข้นของกลิ่นหอม
  1. Eau de Perfume 'EdP' คือน้ำหอม ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอม ในสัดส่วนที่ 10-20%
  2. Eau de Toilette 'EdT' คือน้ำหอม ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอม ในสัดส่วนที่ 5-15%
  3. Eau de Cologne 'EdC' คือน้ำหอม ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอม ในสัดส่วนที่ 3-8%
  4. Eau de Solide 'EdS' คือน้ำหอม ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอม ในสัดส่วนที่ ~1%

วิธีการเก็บรักษา[แก้]

  1. เก็บรักษาที่อุณหภูมิประมาณ 27 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิห้อง)
  2. ห้ามโดนอุณหภูมิเกิน 30 องศาเซลเซียส แม้จะเป็นเวลาเพียงเล็กน้อย


สารละลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ละลายเกลือแกงในน้ำ
ในทางเคมี สารละลาย (อังกฤษsolution) คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำ
  • สารละลายอุดมคติ (ideal solution) คือการที่ปฏิกิริยาระหว่าง โมเลกุล ของตัวทำละลายกระทำซึ่งกันและกันมีค่าเท่ากับปฏิกิริยาระหว่างตัวทำละลายกับตัวถูกละลาย แล้วคุณสมบัติของสารละลายในอุดมคติสามารถคำนวณได้โดยผลรวมเชิงเส้น (linear combination) ของคุณสมบัติของส่วนประกอบของตัวมัน
  • ตัวทำละลาย (solvent) ตามความหมายแบบเดิมคือ สารในสารละลายที่มีปริมาณมากกว่าตัวถูกละลาย ถ้าทั้งตัวถูกละลายและตัวทำละลายมีปริมาณเท่ากัน (เช่น สารละลายมี เอทานอล 50% และ น้ำ 50%) คำจำกัดความเกี่ยวกับตัวทำละลายและตัวถูกละลายจะมีความสำคัญน้อยลง
แต่โดยทั่วไปสารที่มีปริมาณมากกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นตัวทำละลาย
สารละลายแบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้:
ตัวอย่างของสารละลายตัวถูกละลาย
ก๊าซของเหลวของแข็ง
ตัวทำละลายก๊าซออกซิเจน และ ก๊าซอื่นใน ไนโตรเจน (อากาศ)ไอน้ำ ใน อากาศ (ความชื้น)กลิ่น ของของแข็งเป็นผลมาจากโมเลกุลของของแข็งกระจายตัวในอากาศ
ของเหลวคาร์บอนไดออกไซด์ ในน้ำ (น้ำคาร์บอเนต)เอทานอล (แอลกอฮอล์) ในน้ำ; ไฮโดรคาร์บอน หลายชนิดใน (ปิโตรเลียม)ซูโครส (น้ำตาลทราย) ในน้ำ; โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) ในน้ำ
ของแข็งไฮโดรคาร์บอน ละลายในโลหะ; แพลทินัม ถูกศึกษาให้เป็นตัวกลางในการเก็บน้ำ ใน ถ่านกัมมันต์(activated charcoal) ; ความชื้นใน ไม้เหล็กกล้าดูราลูมิน(duralumin) โลหะอื่น โลหะผสม



น้ำมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์
น้ำมัน (อังกฤษOil) เป็นคำสามัญที่ใช้เรียกสารอินทรีย์ของเหลวที่ผสมเข้ากันไม่ได้ (immiscible) กับน้ำ เนื่องจากน้ำมันเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว คำว่า น้ำมัน ในภาษาอังกฤษ (Oil) มาจากภาษาละติน oleum ซึ่งหมายถึงน้ำมันมะกอก
บ่อยครั้งที่คำว่า น้ำมัน ใช้หมายถึง น้ำมันปิโตรเลียม (น้ำมันดิบ) ซึ่งน้ำมันชนิดนี้จะถูกสูบขึ้นมาจากพื้นดิน ปัจจุบันน้ำมันปิโตรเลียมเป็นแหล่งพลังงานหลักและเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก

ประเภทของน้ำมัน[แก้]

น้ำมันประกอบอาหาร[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่: น้ำมันประกอบอาหาร
น้ำมันจากพืช (ส่วนใหญ่นำมาประกอบอาหาร เรียกสั้น ๆ ว่าน้ำมันพืช)
น้ำมันจากไขมันสัตว์

น้ำมันเชื้อเพลิง[แก้]

ของเหลวที่สกัดออกจากซากพืช ซากสัตว์แร่ธาตุบางชนิด เช่น ถ่านหิน ซึ่งทับถมกันมานานหลายร้อยพันปีจนกลายเป็นของเหลวที่อยู่ใต้พื้นพิภพ ซึ่งมนุษย์ได้ขุดเจาะขึ้นมาจากแหล่งกำเนิดแล้วผ่านกระบวนการกลั่นกรองจนกลายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ


แอลกอฮอล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงสร้างของแอลกอฮอล์

โดยทั่วไป
 แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าแอลกอฮอลิซึ่ม (alcoholism—โรคพิษสุราเรื้อรัง)ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (อังกฤษalcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH
เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล)

อันตรายจากแอลกอฮอล์[แก้]

  • ตามท้องตลาดในขณะนี้ มีการขายแอลกอฮอล์กันทั้งเมทิลแอลกอฮอล์และเอทิลแอลกอฮอล์ เมื่อมีผู้บริโภคไปซึ้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลจากร้านขายยา ผู้ขายมักจะหยิบแอลกอฮอล์มาให้เลือกทั้ง 2 ชนิด ราคาเอทิลแอลกอฮอล์จะสูงกว่าเมทิลแอลกอฮอล์เล็กน้อย เพราะฉะนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่และโดยเฉพาะผู้ที่ไม่รู้คุณสมบัติที่แท้จริงของแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มักจะเลือกชนิดที่ราคาถูกกว่า เพราะประหยัดเงิน และเข้าใจว่ามีคุณสมบัติเช็ดแผลได้เหมือนกัน แต่อันที่จริงแล้วคุณสมบัติของเอทิลแอลกอฮอล์ต่างกันมาก คือ
  • เอทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ได้ เช่น ผสมในยารับประทาน ผสมในสุราหรือเครื่องดื่มประเภทของมึนเมาหรือใช้ทาภายนอกร่างกาย เช่น ล้างแผล ผ้าเย็น กระดาษเช็ดหน้า สเปรย์ เป็นต้น
  • เมทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ชนิดมีพิษ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆเช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้แสงสว่าง หรือปนกับทินเนอร์ สำหรับผสมแลคเกอร์ แต่ห้ามใช้กับร่างกาย
  • จากคุณสมบัติของเมทิลแอลกอฮอล์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ควรนำเอาแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มาใช้แทนกัน เพราะจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายได้ เนื่องจากเมทิลแอลกอฮอล์หากนำมาใช้ล้างแผล แอลกอฮอล์จะซึมเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้ผู้ดื่มตาบอดหรือถึงตายได้
  • ถึงแม้ว่าทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะควบคุม และตักเตือนผู้ผลิตและผู้ขายให้ระมัดระวังการนำเมทิลแอลกอฮอล์มาใช้ไม่ให้ผิดจากคุณลักษณะประจำของตัวมันแล้ว แต่ยังมีการใช้หรือขายผิดประเภทอยู่บ้าง
  • ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงใคร่ขอเตือนผู้ผลิตและผู้ขาย ขอให้ใช้ความระมัดระวังในการขายเมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเป็นพิษต่อผู้บริโภคได้ และขอให้แนะนำผู้บริโภคว่าก่อนซื้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลทุกครั้งควรตรวจดูฉลากให้ละเอียดและเลือกชนิดที่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์เท่านั้นและทางที่ดีถ้าท่านไม่แน่ใจก็ควรซื้อแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อที่กระทรวงสาธารณสุขรับรองหรือซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของท่านและครอบครัว


      ไม่มีความคิดเห็น:

      แสดงความคิดเห็น